ตำแหน่งคนไปธนาคารเพื่อไปโอนเงินให้: ตำแหน่ง (ในอดีต) ที่ทุกวันนี้ที่คนทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีแล้ว เพราะการเข้ามาของ Mobile Banking

สำหรับคนที่ทำธุรกิจทั้งหลายก็คงจะต้องคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือหรือที่เรียกกันอีกอย่างนึงว่า Mobile Banking โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราจะโอนเงินให้กับคู่ค้าของเราเวลาจะสั่งซื้อของหรือสินค้าอะไรก็ตาม และการโอนเงินผ่านมือถือนี้เอง ก็มีข้อได้เปรียบหลายอย่างดีกว่าการไปโอนเงินที่เคาน์เตอร์ตามธนาคาร

ไม่ว่าจะเป็น: ไม่ต้องเสียเวลาหาที่จอดรถเวลาไปธนาคาร, โอนเงินได้ตลอดเวลา 24 ชม.,  ไม่ต้องกลัวว่าคนที่ใช้ให้ไปโอนจะโกงเงินหรือเปล่า และที่สำคัญที่สุด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่โอนเงินไปต่างธนาคาร : )

14

สมัยก่อนเวลาที่เราจะไปโอน ก็ต้องไปโอนที่เคาน์เตอร์ตามธนาคารต่างๆ (ช่วงหลังๆก่อนที่จะสามารถโอนได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถโอนได้ทางตู้ ATM) โดยคนที่จะไปโอนนั้น หากไม่ใช่เจ้าของธุรกิจหรือตัวเถ้าแก่เอง ก็ต้องเป็นบุคคลใกล้ชิดที่สามารถไว้วางใจได้ให้ไปโอน อาจจะเป็น ลูก, หลาน หรือญาติ ไม่อย่างงั้นก็ต้องเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่กันมานานให้ไปโอนแทน ขอเพียงแค่ว่าสามารถไว้ใจได้จริงๆ

3

พอพูดถึงเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงคนคนนึงที่ผมรู้จักซึ่งทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่ร้านค้าแห่งนึงใกล้ๆบ้านผม เพราะว่าผมมักเดินผ่านไปที่ร้านนี้เป็นประจำ พอเจอเขาก็ต้องหยุดเพื่อคุยเรื่องต่างๆนานา (บางครั้งก็เจอเถ้าแก่ของเขาด้วย)

5

ซึ่งลูกจ้างคนนี้ที่ผมพูดถึง ในอดีตเขามีหน้าที่ที่จะต้องไปธนาคารเพื่อที่จะไปโอนเงินให้กับคู่ค้าของเถ้าแก่ที่ทำธุรกิจด้วย ไม่ว่าจะเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม โดยสมัยนั้นเวลาโอนเงินก็ต้องโอนผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร โดยเขียนชื่อและเลขบัญชีที่จะโอนบนสลิปใบรับฝากเงิน แถมยังต้องเสียค่าธรรมเนียมอย่างต่ำก็ประมาณ 30 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่โอน โดยเฉพาะการโอนเงินข้ามจังหวัดหรือข้ามเขต

มากไปกว่านี้ อาจมีคู่ค้าบางรายที่ใจดีที่ยอมให้หักค่าโอน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาคำนวณค่าโอนเพิ่มอีก สมมุติว่าโอนไป 1000 บาท ค่าโอนอยู่ที่ 30 บาท ก็หักไปใน 1000 บาท ทำให้ผู้รับจะได้เงินเพียง 970 บาท

13

และอย่างที่บอก ลูกจ้างคนนี้ก็ต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้มากพอสมควร ไม่อย่างงั้นเจ้าของอาจต้องลำบากถ้าหากว่าไม่สามารถหาคนที่ไว้ใจได้ เพราะถ้าเกิดให้ลูกจ้างที่เพิ่งจ้างมาได้ไม่นานไปโอนเงินให้ละก็ อาจมีโอกาสที่จะโดนโกงเงิน ยิ่งไปกว่านั้น บางรายอาจขโมยเงินไป และหนีไม่กลับมาอีกเลย !=__=! เดือดร้อนเจ้าของกิจการไปอีก

ซึ่งในตอนนั้นตัวเขาเองก็ยังไม่รู้ว่าตำแหน่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นจะทำได้อีกไม่นาน !0_o!

เพราะการเข้ามาของ Mobile Banking ที่สะดวกและไม่ยาก ทำให้หน้าที่การไปโอนเงินที่ธนาคารของลูกจ้างคนนี้ก็สิ้นสุดไปโดยอัตโนมัติ

และเท่ากับว่าหน้าที่การโอนเงินก็เป็นของเถ้าแก่ไปเลย โดยที่ทำรายการผ่านโทรศัพท์มือถือนั่นเอง!!

8-1

อ่านไปอ่านมาแล้ว บางคนคิดว่าถ้าเป็นแบบนี้แล้ว ลูกจ้างคนนี้จะตกงานใช่มั๊ย??

………………….

คำตอบคือ “ไม่ใช่” : )

เพราะลูกจ้างคนนี้ก็มีตำแหน่งหน้าที่หลายอย่างอื่นๆอยู่แล้วที่สามารถทำได้หมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดของเรียงสินค้า, การติดป้ายราคา, การขับรถ รวมไปถึงการทำความสะอาดเช็ดถูสถานที่ ซึ่งลูกจ้างคนนี้ก็สามารถทำอะไรได้ตามที่เถ้าแก่สั่งได้หมด เรียกได้ว่าทำได้ทุกอย่างเลย

4

ผมคิดว่ากรณีแบบนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทั้งตัวลูกจ้างและเถ้าแก่

เพราะการที่ให้ลูกจ้างหนึ่งคนได้ทำงานหลายหน้าที่หลายตำแหน่ง ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวลูกจ้างเพราะถ้าวันหนึ่งวันใดตำแหน่งงานบางอย่างที่เทคโนโลยีสามารถทำแทนได้ ลูกจ้างก็ยังสามารถทำงานตำแหน่งอื่นได้อย่างปกติ แต่ก็ต้องพึงระลึกเสมอตลอดเวลาว่า งานอื่นๆที่ทำนั้นก็อาจแทนที่ด้วยเทคโนโลยีได้ตลอดเวลา เพียงแค่ไม่รู้ว่ามันจะมาเมื่อไหร่เท่านั้นเอง (เหมือนกับกรณีการโอนเงินผ่าน Mobile Banking อย่างที่ได้กล่าวไว้)

12

ส่วนเถ้าแก่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าจ้างให้กับลูกจ้างหลายคน โดยเฉพาะลูกจ้างบางคนที่บอกว่าสามารถทำงานได้หลายอย่าง แต่พอเอาจริงๆแล้ว ทำอะไรไม่ได้เลย เหมือนกับจ่ายค่าจ้างไปฟรีๆ

6

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรก็ตามแต่ หนึ่งในสิ่งสำคัญที่เจ้าของกิจการหรือเถ้าแก่ต้องการจากลูกจ้างก็คือ ความไว้วางใจและซื่อสัตย์นั่นเอง

เพราะไม่มีเถ้าแก่คนไหนหรอกที่อยากจะได้ลูกจ้างที่ไม่ไว้วางใจหรือที่มีพฤติกรรมแย่ๆ (ต่างจากลูกจ้างที่ผมรู้จักคนนี้ที่ได้บอกมาข้างต้น) ไม่เช่นนั้นคงจะต้องใช้เทคโนโลยีช่วยแทน ซึ่งก็ไม่ต้องเจอปัญหาต่างๆจากลูกจ้างที่ทำให้ต้องเสียเวลาในการทำธุรกิจ แต่จะทำได้หรือไม่ได้นั่นก็เป็นอีกเรื่องนึง !=__=!

9

10

______________________________________________

 

 

 

 

 

 


ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s