ใบ Checklist สิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉิน (ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติต่างๆ) ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากที่ผมได้มาจากญี่ปุ่น

จริงๆต้องบอกว่า เอกสารใบนี้ผมได้มาจากตอนที่ไปญี่ปุ่นเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเอกสารใบนี้ก็คือใบ Checklist สิ่งของจำเป็นที่เราต้องใช้ในยามฉุกเฉิน (ที่ส่วนมากเกิดจากภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว เป็นต้น) พอดีว่าเจอตอนกำลังรื้อค้นและจัดเอกสารที่อยู่ในกล่อง ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆคน ก็เลยเอามาลง : )

1

โดยผมได้ใบ Checklist นี้มาจากพิพิธภัณฑ์แผ่นดินไหวฮันชิน-อาวาจิที่เมืองโกเบ (เมืองที่เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 1995 ซึ่งหลายปีต่อมา ทางเมืองก็สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์รำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ซึ่งตัวพิพิธภัณฑ์เองก็เป็นศูนย์การเรียนรู้การป้องกันทางภัยพิบัติด้วย)

9

ใครที่มีแผนจะไปที่พิพิธภัณฑ์นี้และอยากได้ใบ Checklist นี้แบบที่ผมมี ก็สอบถามกับเจ้าหน้าที่ดูได้ โดยโชว์รูปแรกสุดในบล็อกนี้ให้เจ้าหน้าที่ดูนะว่าอยากได้เอกสารใบนี้ (มีอยู่สามภาษา อังกฤษ, ญี่ปุ่น และจีน) หรือไม่ก็ดาวน์โหลดได้จากลิงก์นี้ (เป็นภาษาอังกฤษ)

https://web.tuat.ac.jp/~intl/current/download/engcheck.pdf

แต่ก็ต้องบอกว่า ใบ Checklist นี้ ก็ทำให้ผมได้รู้ว่ารายการสิ่งของจำเป็นต่างๆที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉินมีมากกว่าที่ผมคิดไว้ซะอีก และเป็นเอกสารอีกชิ้นที่ควรมีเก็บไว้ในที่พัก

4

สำหรับรายละเอียดต่างๆในใบ Checklist นี้ ผมจะไม่ขออธิบายแบบลงลึกมาก เอาเฉพาะส่วนที่สำคัญละกัน

โดยรายการสิ่งของจำเป็นต่างๆก็จะถูกแบ่งออกเป็นหมวดต่างๆ ได้แก่:

1.หมวดสิ่งของจำเป็นพื้นฐาน

2.หมวดสิ่งของจำเป็นเฉพาะในบางกรณี

และ 3.หมวดสิ่งของที่สามารถเก็บไว้สำรองใช้ได้เมื่อจำเป็น

14

และนี่ก็เป็นตัวอย่างรายการส่วนนึงในแต่ละหมวด ผมจะยกตัวอย่างแค่บางรายการนะ…… (จะได้มองภาพออก เวลาที่เราต้องใช้)

1.หมวดสิ่งของจำเป็นพื้นฐาน: น้ำดื่มขวด, อาหารที่สามารถพกพาได้ (เช่นลูกอมหรือขนมแท่ง), ไฟฉาย, ชุดปฐมพยาบาล

2.หมวดสิ่งของจำเป็นเฉพาะในบางกรณี: กุญแจสำรอง, เอกสารสำคัญต่างๆ, อุปกรณ์ช่วงในการฟังสำหรับผู้สูงอายุ

3.หมวดสิ่งของที่สามารถเก็บไว้สำรองใช้ได้เมื่อจำเป็น: อุปกรณ์ภาชนะสำหรับอาหาร, แผนที่, ที่เปิดกระป๋อง

15

ส่วนหมายเลข 0, 1 และ 2 ที่เห็นอยู่นี้จากในใบ Checklist นี้ (ที่ผมทำสี่เหลี่ยมแดงไว้ในรูปบน) ถ้าแปลง่ายๆก็คือ ระดับความจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งของจำเป็นเหล่านี้:

หมายเลข 0 คือ สิ่งของจำเป็นฉุกเฉินที่ต้องมีพกติดตัวไว้ตลอด

หมายเลข 1 คือ คือ สิ่งของจำเป็นฉุกเฉินที่ต้องมีเตรียมพร้อมไว้ในยามฉุกเฉิน (โดยใส่รวมไว้ในกระเป๋าหรือในกล่อง ถ้าหากต้องอพยพ ก็สามารถหิ้วไปได้ทันที)

หมายเลข 2 คือ สิ่งของจำเป็นฉุกเฉินที่สามารถเก็บไว้สำรองได้หลายวัน

โดยแต่ละรายการก็จะมีตัววงกลมปรากฏอยู่ในหมายเลขแต่ละช่องของแต่ละรายการ บางรายการก็มีวงกลมปรากฏแค่หมายเลขเดียว แต่บางรายการอาจมีมากกว่านี้ เช่นรายการน้ำดื่ม ก็จะมีวงกลมปรากฏอยู่ทั้งสามหมายเลขเลย ก็คือเป็นสิ่งของจำเป็นฉุกเฉินทั้งสามระดับ13ในส่วนของรายการที่ไม่มีวงกลมปรากฏอยู่เลย (โดยเฉพาะในหมวดสิ่งของจำเป็นเฉพาะในบางกรณี) ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและความสำคัญของสิ่งของจำเป็นที่แต่ละคนที่ใช้นะ

ซึ่งรายละเอียดในใบ Checklist ที่ผมได้อธิบายมาคงมีเพียงเท่านี้ ที่เหลือไปอ่านดูเองได้……..

12

6

และแม้ว่าสำหรับบางคนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นที่อาจจะไม่ได้มีโอกาสเจอเหตุการณ์ฉุกเฉินจากภัยพิบัติบ่อยๆก็ตาม (โดยเฉพาะแผ่นดินไหว) แต่การมีใบ Checklist ใบนี้ก็เป็นประโยชน์อย่างมากที่สามารถใช้ (หรือใช้ดัดแปลง) กับเหตุการณ์ฉุกเฉินอื่นๆที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ในอนาคตเมื่อถึงเวลาจำเป็น

เพราะอย่างน้อย การที่เราได้เตรียมสิ่งของจำเป็นเหล่านี้ตามในใบ Checklist ที่ได้ระบุไว้นั้น พอเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เราก็สามารถเอาสิ่งของเหล่านี้มาใช้ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องวิ่งหาซื้อทีหลังอย่างกังวลใจ : )

10

3

__________________________________


ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s