จากคำบอกของลูกจ้างคนหนึ่ง: สัญญาณหนึ่งที่ลูกจ้างอาจรู้ได้ว่าเราอาจจะถูกปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงานนั้น (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามแต่ โดยเฉพาะในช่วง COVID-19) สามารถสังเกตได้จากตอนที่นายจ้างพูดคุยเรื่องนี้กับบุคคลอื่นๆแบบจงใจให้เราได้ยิน……..

ผมไม่รู้ว่าจะมีสักกี่คนในฐานะที่ทำงานเป็นลูกจ้างจะเคยเจอกรณีแบบนี้บ้างหรือเปล่านะ

แต่สำหรับผมแล้ว กรณีนี้น่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะมาเล่าให้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงานในช่วง COVID-19 (ที่เห็นกันทั่วไปก็มีลดชั่วโมงหรือวันมาทำงาน, ลดค่าจ้าง, ลาโดยไม่รับค่าจ้าง เป็นต้น)

เรื่องมันมีอยู่ว่า ผมมีคนรู้จักอยู่คนนึง ซึ่งเขาคนนี้ทำงานเป็นลูกจ้างในร้านค้าขายปลีกเล็กๆแห่งนึง (ผมไม่รู้ว่าขายอะไรนะ รู้แค่ว่าเป็นแบบซื้อมาขายไป)

เขาเล่าให้ผมฟังว่า สืบเนื่องจาก COVID-19 ธุรกิจของนายจ้างได้รับผลกระทบหนัก เพราะไม่มีลูกค้าเยอะเหมือนแต่ก่อนแล้ว

จึงทำให้นายจ้างต้องมานั่งหาวิธีแก้ไขปัญหาว่าจะทำอย่างไรต่อกับธุรกิจในภาวะแบบนี้

ก็มีทั้ง ประเมินและเช็คดูว่าสินค้าอะไรที่ยังพอขายได้และสินค้าอะไรที่ขายไม่ได้เลย

โดยเฉพาะสินค้าที่ขายไม่ได้ก็ต้องหาทางระบายให้ออก

หรือไม่ก็หาสินค้าอย่างอื่นมาขายเสริมชั่วคราวไปพลางๆ

แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ผมกำลังจะพูดนะ : )

เพราะสิ่งที่ผมอยากจะพูดก็คือตามดังนี้…………

ลูกค้าคนนี้เล่าให้ผมฟังว่า มันมีอยู่วันนึงที่มีบุคคลนึงเข้ามาที่ร้านเพื่อจะมาพบนายจ้างของเขา เขาจึงไปเรียกนายจ้างให้ออกมาพบ และรู้สึกว่าคนๆนี้น่าจะเป็นญาติของนายจ้าง

คือคนนี้ที่มาหานายจ้างก็แค่แวะมาพูดคุยกันเรื่อยเปื่อนตามประสาเรื่องทั่วๆไป รวมไปถึง COVID-19 ด้วย

จริงๆมันก็ไม่เห็นมีอะไรเลยใช่มั๊ย???

มันก็ใช่อยู่

แต่ลูกจ้างคนนี้ก็เล่าต่อว่าระหว่างที่นายจ้างและญาติของเขากำลังพูดคุยกันอยู่ จู่ๆเขา (ลูกจ้าง) ก็ต้องตกใจและอึ้งไปนิดนึง เมื่อเขาได้ยินนายจ้างพูดคุยกับญาติของเขาว่า………

“เราคงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและอาจต้องลดค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างด้วย”

“รวมถึง XXXX (ชื่อของลูกจ้างคนนี้) ด้วยหรือ???” ญาติของเขาถาม

“ใช่ เพราะอาจไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว” นายจ้างคนนี้ตอบกลับแบบด้วยน้ำเสียงที่ดูเครียดๆ

“ขืนอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็มีแต่รายจ่ายมากกว่ารายรับ”

บทสนทนาก็มีเพียงเท่านี้ และแถมเสียงพูดของนายจ้างก็ดังไปจนถึงหูของลูกจ้างคนนี้ ราวกับว่านายจ้างจงใจจะให้ลูกจ้างได้ยินในสิ่งที่เขาพูดคุยกับญาติของเขา

มาถึงตรงนี้ บางคนที่ได้อ่านไปก็อาจสงสัยว่า……….

ทำไมนายจ้างคนนี้ถึงต้องพูดคุยเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงานกับญาติของเขา (แบบให้ลูกจ้างคนนี้ได้ยิน) ทั้งที่เรื่องนี้ควรที่จะต้องบอกกับลูกจ้างโดยตรงเลย???

ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะคิดอย่างไรนะ (แต่ละคนก็มีสิทธิ์ที่จะคิดไม่เหมือนกันได้)

บ้างก็อาจคิดว่ามันเป็นเรื่องไม่สมควร ควรจะคุยกับลูกจ้างโดยตรง

บ้างก็อาจคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเกลียด

บ้างก็อาจคิดว่ามันเป็นเรื่องแปลกดี มีแบบนี้ด้วยหรือ

หรือบ้างก็อาจคิดว่ามันก็เป็นการพูดคุยธรรมดาในเรื่องที่จะต้องปรับตัวเกี่ยวกับธุรกิจในช่วง COVID-19

แต่สำหรับผม ผมคิดว่านายจ้างคนนี้ก็ต้องมีเหตุผลเป็นของตัวเองว่าทำไมถึงพูดคุยเสียงดังกับญาติของเขาแบบนั้น แบบจงใจให้ลูกจ้างได้ยินเลย (ไม่อย่างงั้นเขาคงไม่พูดออกมาหรอก)

ซึ่งเหตุผลนั้นที่ผมคิดก็คือ…………

นายจ้างอาจต้องการบอกกับลูกจ้างเป็นสัญญาณ (แบบอ้อมๆ) ให้รู้ล่วงหน้าว่า ให้เตรียมตัวและเตรียมใจกับการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงานในเร็วๆนี้

เหมือนกับว่าให้เวลาลูกจ้างเตรียมตัวก่อนที่นายจ้างจะแจ้งให้ทราบเป็นทางการอีกที (เพราะยังไงนายจ้างก็ต้องแจ้งอยู่ดี เดี๋ยวจะหาว่าไม่มีการแจ้งบอกอะไรเลยล่วงหน้าเลย)

อีกทั้งก็อาจเป็นการทดสอบดูว่าลูกจ้างคนนี้จะมีปฏิกิริยาอย่างไร หลังจากที่ได้ยินในสิ่งที่นายจ้างพูดเรื่องนี้กับคนอื่น

ปฏิกิริยาในนี้ก็คือ พอลูกจ้างได้ยินที่นายจ้างพูดแล้ว ตัวเองจะทำอย่างไรต่อไป???

ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองกรณี (ตามความคิดของผม):

กรณีแรก: ลูกจ้างอาจจะต้องเตรียมตัวและเตรียมใจว่า เร็วๆนี้นายจ้างต้องเรียกมาชี้แจงเกี่ยวกับสถานการณ์และอาจถูกขอให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน ตามที่ว่าข้างต้น รวมไปถึงวางแผนการลดค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ไม่จำเป็น และอาจต้องเตรียมหางานอย่างอื่นทำชั่วคราวไปก่อนในเวลานี้

หรือไม่กรณีที่สอง: ลูกจ้างอาจจะทำเป็นไม่สนใจ คิดว่านายจ้างพูดไปเรื่อยเปื่อย คิดว่าสิ่งนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นกับตัวเองได้หรอก ตัวเองก็สบายๆ ราวกับว่าได้รับค่าจ้างเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่เดือนร้อนอะไร ใช้ชีวิตตามปกติเหมือนก่อน COVID-19 หากเงินไม่พอ ก็ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวสิ้นเดือนก็จะได้ค่าจ้างแล้ว !=___=!

และอย่าลืมนะว่าอันนี้นายจ้างยังไม่ได้มาแจ้งกับลูกจ้างโดยตรง เป็นเพียงแค่พูดคุยกับคนอื่นเท่านั้น และเผอิญว่าลูกจ้างได้ยินไปแล้วด้วย

ดังนั้นก็เป็นสิทธิ์ของลูกจ้างเองว่าอยากจะเลือกแบบไหนนะ

แต่ก็คิดว่าคงไม่มีใครหรอกนะที่จะเลือกแบบกรณีที่สอง : )

กลับมาที่เรื่องของลูกจ้างคนนี้

ลูกจ้างคนนี้เล่าให้ผมฟังว่า พอเขาได้ยินนายจ้างของตัวเองพูดกับญาติของเขาแบบนี้ เขาก็ตัดสินใจที่จะต้องวางแผนชีวิตของตัวเอง เพราะรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสสูงที่เขาอาจจะต้องถูกปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน เริ่มตั้งแต่วางแผนค่าใช้จ่าย รายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นก็ตัดออกไปก่อน ประมาณแบบนี้  (แบบกรณีที่หนึ่งอย่างที่ผมว่า)

จนไปถึงต้องคิดแล้วว่าจะทำงานอะไรชั่วคราวแทนในช่วงที่ว่าง

และในที่สุด วันนั้นก็มาถึงจริงๆด้วย

เมื่อนายจ้างของเขามาแจ้งให้เขาทราบเกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน มีทั้งลดชั่วโมงการทำงานและลดค่าจ้างตามไปด้วย (ไม่ขอพูดถึงรายละเอียดในส่วนนี้มากนะ)

อีกทั้งก็ยังอนุญาตให้ลูกจ้างไปทำงานเสริมอย่างอื่นได้ แต่ขออย่าให้กระทบกับงานหลักก็แล้วกัน

ซึ่งลูกจ้างคนนี้ก็รับทราบและยินยอมที่จะปฏิบัติตาม ถือว่าเป็นการช่วยประคับประคองธุรกิจของนายจ้างให้ดำเนินต่อไปได้ในช่วง COVID-19

อย่างน้อยตัวลูกจ้างก็เตรียมตัวและเตรียมใจตั้งแต่ที่ได้ยินที่นายจ้างพูดคุยกับญาติของเขาแล้ว

และเรื่องก็จบเพียงเท่านี้ : )

จากเรื่องของลูกจ้างคนนี้ที่เล่าให้ผมฟัง จะว่าไปแล้ว มันมีอยู่ส่วนนึงที่ผมอยากจะเพิ่มเติม

นั่นก็คือบุคคลที่นายจ้างของเขากำลังพูดคุยอยู่ด้วย

ซึ่งก็คือญาติของเขา

ผมอยากจะบอกว่ากรณีแบบนี้ บุคคลที่นายจ้างพูดคุยด้วยไม่จำเป็นต้องเป็นญาติเสมอไปหรอกนะ

เพราะสามารถเป็นบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนายจ้างได้ มักจะเป็น……….

ลูกค้าขาประจำ

เพื่อนของนายจ้าง (ที่อาจแวะมาเยี่ยมหาเพื่อนที่ทำงาน)

หรือไม่ก็เป็นบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนายจ้าง

ไม่ว่าบุคคลที่นายจ้างจะพูดคุยด้วยจะเป็นใครก็ตามแต่ ถ้ามีการพูดถึงเรื่องการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน (หรือไม่ก็เรื่องอื่นๆที่มีผลกระทบต่อลูกจ้าง) แบบว่าจงใจให้ลูกจ้างได้ยิน ตัวลูกจ้างเองก็ควรที่จะตระหนักในสิ่งที่เกิดขึ้น และเตรียมรับมือว่าจะทำอย่างไรต่อไป อย่างที่ได้ว่าไปข้างต้นแล้ว

และอีกสิ่งนึงที่ผมอยากจะบอกเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ………

กรณีเรื่องดังกล่าวข้างต้น อาจไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นแบบนี้เสมอไป

เพราะก็มีบางกรณีที่ผมก็เคยเจอคล้ายๆแบบนี้ อย่างนายจ้างพูดคุยกับคนอื่น (ที่ไม่ใช่ลูกจ้าง) ว่าอาจจะต้องหยุดธุรกิจชั่วคราว, อาจต้องลดค่าจ้างไปแบบไม่มีกำหนด รวมไปถึงอาจต้องเลิกจ้าง

แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เกิดขึ้น

เนื่องจากนายจ้างอาจหาวิธีอื่นที่สามารถประคับประคองธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ โดยที่ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องใช้วิธีการต่างๆอย่างที่บอกไปข้างต้น

ส่วนสาเหตุที่นายจ้างต้องพูดไว้ก่อน ก็เพื่อจะให้ลูกจ้างได้เตรียมตัวรับมือและวางแผนล่วงหน้าหากจะมีการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงานจริง

ยังไงเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ดีสำหรับหลายๆคนที่ทำงานเป็นลูกจ้างที่ควรต้องปรับเปลี่ยนชีวิตการทำงานของเราให้สอดคล้องในยุค COVID-19 ถ้าหากมันจำเป็นที่ต้องทำ

เพราะ COVID-19 ก็จะยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน

______________________________________