พิพิธภัณฑ์โตเอะอนิเมชั่น (Toei Animation Museum) ได้เปิดบริการให้เข้าชมแล้วในรูปแบบโฉมใหม่หลังจากที่ปิดปรับปรุงมานาน

ใครที่ชอบดูการ์ตูนญี่ปุ่นหรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า “อนิเมะ” (ไม่ว่าจะเป็นพากย์ไทยหรือไม่เป็น Soundtrack ก็ตาม) ก็คงจะต้องรู้จักโตเอะ อนิเมชั่น (Toei Animation) ซึ่งเป็นหนึ่งในค่ายสตูดิโออนิเมะที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น โดยเรื่องที่ดังที่เราน่าจะรู้จักก็จะมี วันพีซ (One Piece), ดราก้อนบอล (Dragon Ball), เซเลอร์มูน (Sailor Moon), ดิจิมอน (Digimon), แม่มดโดเรมี (Ojamajo Doremi) และพรีเคียว (Precure)

44

ซึ่งตอนนี้ทางโตเอะก็ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ของตัวเองให้บุคคลทั่วไปได้ชมแล้วในรูปแบบใหม่หลังจากที่ปิดปรับปรุงมาถึง 4 ปี (ตั้งแต่เดือนกันยายน 2014) โดยพิพิธภัณฑ์ได้เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2018 ที่ผ่านมา

24

55

โดยผมเองก็เป็นหนึ่งในแฟนๆที่ติดตามผลงานของโตเอะมาตั้งแต่สมัยเรื่องดิจิมอนจนมาถึงพรีเคียว

ดังนั้นมาญี่ปุ่นครั้งล่าสุด ผมก็ไม่พลาดที่จะแวะไปที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้หลังจากที่ครั้งสุดท้ายที่ผมมาก็คือปี 2014 (ตอนนั้นยังเป็นแกลลอรี่อยู่เลย)

ใครที่อยากจะไปก็ไปลงที่สถานี Oizumi-Gakuen แล้วเดินต่อไปอีก 15 นาที (ลองเปิดดูจาก Google Maps ได้ ไม่ไกลหรอก หรือไม่ก็เปิดเว็บของพิพิธภัณฑ์ดู) โดยนั่งรถไฟสาย Seibu-Ikebukuro ขึ้นจากสถานี Ikebukuro ซึ่งเป็นสถานีต้นทางจะสะดวกที่สุด

59

เนื่องจากไม่มีค่าเข้าชม ดังนั้นก็คือเข้าชมฟรี : ) แต่เจ้าหน้าที่จะให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัวก่อนเข้าไป และก็จะให้สติ๊กเกอร์ติดที่เสื้อว่าเป็น Guest Pass (ผมเอามาแปะที่แฟ้มเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก)

53

และถ้าสังเกตให้ดีตรงทางเข้าของพิพิธภัณฑ์จะมีป้ายบอกว่าห้ามทำอะไรบ้าง แต่ที่ผมเพิ่งจะสังเกตก็คือมีภาษาไทยด้วย สงสัยทางโตเอะคงจะรู้ว่ามีแฟนๆที่ชอบอนิเมะของโตเอะจากประเทศไทยเยอะ ก็เลยเขียนไว้ด้วยเลย (ยังมีภาษาจีนและเกาหลีด้วย)

45

หลังจากได้สติ๊กเกอร์แปะที่เสื้อแล้ว ก็เข้าไปด้านในที่เป็นส่วนหน้าของพิพิธภัณฑ์ก็จะเจอรูปปั้น Pero ที่อยู่กลางน้ำพุที่เป็นสัญลักษณ์มัสคอตประจำของโตเอะอนิเมชั่น (ซึ่งมาจากเรื่อง Puss’ n Boots โดยออกฉายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1969 เนื้อเรื่องเป็นยังไงลองไปอ่านได้จาก Wiki แบบภาษาอังกฤษนะ) ใครที่เป็นแฟนๆของโตเอะของน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี

1

5

2

พอเข้าไปถึงตัวอาคารด้านในก็จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วน นิทรรศการถาวรและส่วนที่เป็นนิทรรศการพิเศษหมุนเวียนตามที่พิพิธภัณฑ์จัดไว้

4-2

ในส่วนที่เป็นนิทรรศการถาวรจะประกอบด้วยประวัติความเป็นมาของโตเอะอนิเมชั่น, การอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำอนิเมชั่น เช่นการจัดวางฉาก, กระบวนการวาดภาพเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งรายละเอียดการออกแบบตัวละคร เป็นต้น เนื่องจากจุดนี้ถ่ายรูปไม่ได้ ผมก็เลยถ่ายจากส่วนด้านนอกของอาคารก็จะเป็นลักษณะแบบนี้ (รูปด้านบน มีกรอบสีแดงล้อมไว้) แต่ถ้าอยากดูรูปเต็มๆก็ไปดูรูปได้จากตรงนี้ (รูปนี้น่าจะเป็นรูปที่พิพิธภัณฑ์เอามาประชาสัมพันธ์)

50

และจุดเด่นในส่วนนี้ก็น่าจะเป็นจอขนาดใหญ่แบบสัมผัสที่รวบรวมอนิเมะทั้งหมดของโตเอะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทั้งบอกว่าออกอากาศในปีไหนและยังมีเพลงเปิด (OP) และเพลงปิด (ED) ให้ฟังได้อีกด้วย แต่ตรงนี้ก็ถ่ายรูปไม่ได้เหมือนกัน ถ้าถ่ายจากด้านนอกก็จะเป็นลักษณะแบบนี้ (อยู่ในกรอบรูปล่าง) ส่วนภาพชัดๆของมันก็เป็นแบบนี้ (อันนี้ก็เอามาจากรูปของพิพิธภัณฑ์เอง)

30-2

นอกจากนี้ก็มีจุดที่สามารถถ่ายรูปกับตัวละครที่เป็นหุ่นสองตัว คงไม่ต้องบอกนะว่ามาจากเรื่องอะไร

49

48

ที่สำคัญในส่วนนี้ทางพิพิธภัณฑ์ก็มีแบบสอบถามและข้อเสนอแนะแบบอิเล็กทรอนิกส์(แบบจอสัมผัส) สามารถทำได้เลย วิธีใช้ก็ไม่ยาก มีแค่ภาษญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษนะ : )

8

หลังจากดูตรงที่เป็นส่วนนิทรรศการถาวรจบ ก็มาถึงจุดที่เป็นนิทรรศการพิเศษซึ่งจะมีการหมุนเวียนการจัดแสดง ซึ่งครั้งนี้ที่ผมไปก็จะเป็น “Precure Asoberu Hiroba” ซึ่งก็คือนิทรรศการพรีเคียวนั่นเอง โดยจุดเด่นก็น่าจะเป็นจุดที่เราสามารถถ่ายรูปกับพรีเคียว (ที่เป็นป้ายนะ) ทั้งหมด 55 คน (ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะมีถึงกี่คนทั้งหมดเนี่ย ?? =__= ??)

51

อีกทั้งมีป้ายสแตนด์ของหนัง Eiga Hugtto! Precure & Futari Wa Precure All Stars Memories ที่กำลังฉายในโรงหนังที่ญี่ปุ่นอยู่ ใครที่ชอบพรีเคียวและยังอยู่ที่ญี่ปุ่นก็ไปชมกันได้ ซึ่งเป็นหนังฉลองครบรอบ 15 ปีของพรีเคียว (หนังอาจจะฉายอยู่ในโรงจนถึงเดือนธันวาคมนี้)

19

จุดเด่นอีกจุดก็จะเป็นจอ Interactive ขนาดใหญ่ที่จะมีกล้องอัจฉริยะ (อยู่ในกรอบชมพู) จับภาพว่าใครเข้ามาที่หน้าจอ ก็จะทำการแต่งเติมใบหน้าด้วยเครื่องประดับแฟนซีให้โดยอัตโนมัติ

18

แถมรอบๆจอก็เป็นป้ายโปสเตอร์ของซีรีส์พรีเคียวทั้งหมดตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน  (ซีรี่ส์พรีเคียวเริ่มออกอากาศทางช่อง TV Asahi ทุกวันอาทิตย์ เวลา 8:30 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2004 จนถึงปัจจุบัน)

9

11

10

ซึ่งซีรี่ส์พรีเคียวที่ผมชอบมากที่สุดก็คงเป็นเรื่องนี้ Heartcatch Precure! (ไว้ว่างๆค่อยมาเล่าให้ฟังว่าทำไมถึงชอบนะ)

16

และก็มีจุดที่ถ่ายรูปได้กับตัวละครในซีรีส์พรีเคียวเรื่องล่าสุดที่ออกอากาศในญี่ปุ่นตอนนี้ก็คือ Hugtto! Precure

20

17

ส่วนจุดอื่นๆในนิทรรศการ Precure ก็จะเป็นป้ายแขวนรูปพรีเคียวทั้งหมดอยู่เหนือทางเดิน และก็มีมุมเล่นสำหรับเด็กๆ โดยมีพ่อแม่นั่งดูแลอยู่ห่างๆ (ตรงจุดนี้ผมไม่อยากถ่าย เพราะว่าคนญี่ปุ่นเขาถือมากเรื่องความเป็นส่วนตัวในเรื่องการถ่ายรูปบุคคล)

15

14

13

เสร็จจากนิทรรศการพิเศษจากอาคารด้านในปุ๊บ ก็ออกมาตรงส่วนนอกของพิพิธภัณฑ์กันซึ่งก็จะเป็นสวนเล็กๆที่มีที่นั่งให้พักอีกด้วย

39

38

มาจอริก้า (Majo Rika) จากเรื่องแม่มดโดเรมี ก็อยู่ตรงนี้ด้วย!!!

36

และสังเกตให้ดีทางพิพิธภัณฑ์ก็ได้จัดให้มีกระดานดำเพื่อให้ผู้เข้าชมโดยเฉพาะเด็กๆได้วาดรูปตัวการ์ตูนที่ตัวเองชอบด้วย โดยมีชอล์กจัดวางให้ และยังมีที่ล้างมือให้อยู่ข้างๆหลังจากที่วาดเสร็จ (เรียกได้ว่าพิพิธภัณฑ์มีความใส่ใจมาก ไม่ต้องให้ผู้เข้าชมต้องไปหาที่ล้างมืออีก)

37

บางรูปนี่วาดได้สวยจริงๆ ไม่รู้ว่าคนวาดเป็นนักวาดการ์ตูนหรือเปล่า???

33

35

โดยผมก็ไม่รีรอที่จะวาด แต่ก็ไม่เก่งเรื่องวาดรูปนะ =__= ก็เลยเขียนเป็นข้อความไปแทน พร้อมกับวาดรูปยิ้มลงไปด้วย : )

34

43

ส่วนสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์โตเอะอนิเมชั่นก็จะเป็นร้านขายสินค้าที่ระลึก ก็จะมีทั้งพวงกุญแจ, เข็มกลัด, ตุ๊กตา, ปฏิทินแขวนและอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงมีตู้กาชาปองให้เล่นอีกด้วย (แต่ว่าต้องใช้เหรียญ 100 เยนนะ ใครไม่รู้จะแลกที่ไหนเมื่อมาถึงญี่ปุ่น ก็ไปอ่านได้จากตรงนี้)

31

42

41

และเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นของการเยือนพิพิธภัณฑ์โตเอะอนิเมชั่นในรูปโฉมใหม่ ผมมาแล้วไม่ผิดหวังเลย จริงๆใช้เวลาในการดูก็ประมาณ 1 ชั่วโมงนะ ถ้าใครอยากมาก็แนะนำให้มาในช่วงเช้าหรือบ่ายก็ได้ เพราะพิพิธภัณฑ์เข้าได้ถึง 16:30 (แต่ปิดเวลา 17:00 นะ) แต่ว่าปิดทุกวันพุธนะ (และอาจจะปิดในวันอื่นถ้ามีประกาศ ยังไงก็ไปเช็คที่เว็บของพิพิธภัณฑ์ก่อนไปละกัน)

27

29

46

52

56

_________________________________________________

 

 

 


One thought on “พิพิธภัณฑ์โตเอะอนิเมชั่น (Toei Animation Museum) ได้เปิดบริการให้เข้าชมแล้วในรูปแบบโฉมใหม่หลังจากที่ปิดปรับปรุงมานาน

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s