ปีศักราชของญี่ปุ่นที่เราสามารถพบเห็นได้จากสิ่งต่างๆเหล่านี้เวลาที่เราไปเที่ยวญี่ปุ่น

หลายๆคนที่ติดตามข่าวก็คงจะทราบกันแล้วว่าในวันที่ 1 พฤษภาคม 2019 ซึ่งเป็นอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ ประเทศญี่ปุ่นจะมีการเปลี่ยนชื่อปีศักราชใหม่อย่างเป็นทางการ (หรือเรียกอีกอย่างว่า “รัชศก”) ซึ่งศักราชใหม่นี้มีชื่อว่า “เรวะ” (令和) Reiwa นั่นเอง (ช่วงเวลาที่ผมเขียนบล็อกนี้ ยังเป็นศักราชเฮเซอยู่ ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2019 นี้)

ซึ่งปีศักราชของญี่ปุ่นก็จะมีการใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นปฏิทินญี่ปุ่นเอง (ที่โชว์ทั้งปีศักราชญี่ปุ่นพร้อมกับปีคริสตศักราชที่ใช้กันทั่วโลกควบคู่กันไป) หรือเอกสารสำคัญต่างๆในทางราชการ

แต่สำหรับคนที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นแบบผมจะมีโอกาสพบเห็นการใช้ปีศักราชญี่ปุ่นในระหว่างที่เที่ยวมั๊ย???

26

คำตอบคือ………..

มี!! : )

งั้นมาดูกันสิว่า เราสามารถพบเห็นปีศักราชชองญี่ปุ่นได้จากสิ่งใดบ้าง เวลาที่เราไปเที่ยวญี่ปุ่น

เริ่มจาก……..

1. เหรียญญี่ปุ่น

เชื่อว่าใครที่มาญี่ปุ่นก็คงจะต้องใช้เหรียญญี่ปุ่นในการซื้อของตามร้านค้าต่างๆ รวมไปถึงตู้ขายของหยอดเหรียญด้วย และคนที่ชอบหมุนเล่นตู้กาชาปองก็หนีไม่พ้นที่จะต้องใช้เหรียญในการเล่น โดยเฉพาะเหรียญ 100 เยน ซึ่งก็หาสถานที่แลกได้ไม่ยาก

24

โดยปีศักราชจะอยู่ด้านเดียวกับจำนวนของเงินเยนที่ระบุอยู่บนตัวเหรียญ (ตามปีที่ผลิต) อย่างรูปด้านล่าง เหรียญ 100 เยน สองเหรียญนี้ ด้านซ้ายก็จะเป็นเหรียญ 100 เยนที่ถูกผลิตในปีโชวะที่ 50 (ปี 1975) ส่วนเหรียญ 100 เยนด้านขวาถูกผลิตในปีเฮเซที่ 25 (ปี 2013)

15

2. บัตรโดยสารรถไฟ (หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “ตั๋วรถไฟ”)

ปีศักราชอาจไม่ได้ปรากฏอยู่บนบัตรแบบนี้หมดทุกสาย ที่เห็นมากก็จะเป็นรถไฟสาย JR ส่วนรถไฟสายเอกชนก็จะใช้เป็นปี ค.ศ. มากกว่า

5

จะมีปรากฏให้เห็นเป็นทั้งแบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียว, บัตร One Day Pass หรือ แม้แต่บัตรรถไฟชินคันเซ็น หรือบัตรโดยสารรถไฟด่วนขบวนอื่นๆ (หลังๆที่ผมใช้มา ก็เห็นเปลี่ยนมาใช้เป็นปี ค.ศ. มากขึ้น)

สิ่งที่เห็นได้ชัดในการใช้ปีศักราชบนบัตรโดยสาร ก็จะมีเพียงแค่ตัวเลขของปีแสดงแต่ไม่มีชื่อปีนำหน้า อย่างที่เห็นในรูปล่างซึ่งเป็นบัตร One Day Pass ของรถไฟสายแห่งหนึ่งใน Osaka ที่ผมวงไว้ นั่นก็คือปีเฮเซที่ 28 (ปี 2016) เดือน 11 วันที่ 12

18

3. แผ่นพับคู่มือเข้าชมสถานที่ต่างๆ

มักจะอยู่ในคำอธิบายประวัติความเป็นมาหรือรายละเอียดของสถานที่หรือเหตุการณ์ต่างๆว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ในสมัยไหน แต่ส่วนมากจะอยู่ในแผ่นพับที่เป็นภาษาญี่ปุ่น (ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆจะใช้เป็นปี ค.ศ. แทน)

19

20

4. ป้ายคำอธิบายตามพิพิธภัณฑ์สถานที่ต่างๆ

ก็เหมือนกับแผ่นพับนั่นแหละ แต่ว่าบางสถานที่ก็มีโชว์ปีศักราชญี่ปุ่นควบคู่ไปกับปี ค.ศ. ด้วย เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

ที่เห็นในรูปล่างนี้ก็มาจากปราสาท Nagoya, พิพิธภัณฑ์รถไฟ JR ที่ Nagoya และพิพิธภัณฑ์รถไฟใต้ดิน Tokyo Metro ที่ Tokyo

23

21

25

5. หนังสือตารางเดินรถไฟชินคันเซ็น (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

ใครที่ใช้บริการรถไฟชินคันเซ็นเป็นประจำ ก็อาจจะต้องมีหนังสือเล่มเล็กนี้มาเป็นตัวช่วยในการวางแผนในการเดินทาง แม้ว่าจะเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด ก็อาจพอเข้าใจได้ว่ารถไฟสายไหนออกจากสถานีไหนกี่โมง

13

แต่ข้อมูลของตารางเดินรถไฟอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงๆ ในแต่ละปี อย่างที่เห็นอยู่นี้ก็จะเป็นตารางเวลาของช่วงเดือน ต.ค. ถึง พ.ย. ปีเฮเซที่ 29 (ปี 2017)

14

6. ป้ายประกาศตามสถานที่สาธารณะ

ไม่ว่าจะเป็นการประกาศอะไรก็ตามแต่ ปรับปรุงสถานที่หรือการชี้แจงอะไรก็ตาม ก็จะประกาศว่าจะดำเนินการไปตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน ควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษด้วย

ที่เห็นในรูปล่างก็จะมาจากสถานีรถไฟใต้ดิน Tokyo Metro และสถานีรถไฟ JR Takayama

6

10

7. หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น

เอาเข้าจริง คนที่มาเที่ยวคงอาจไม่มีเวลาหรอกที่จะมานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ เพราะว่ายุ่งอยู่กับการจัดโปรแกรมเที่ยว เว้นซะว่าบางคนสนใจอยากรู้อยากเห็นว่าหนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่นมันเป็นอย่างไร

12

ซึ่งหนังสือพิมพ์จะพบเห็นได้ตามโรงแรมที่พักในส่วนที่เป็นล็อบบี้ บางแห่งก็มีบริการหนังสือพิมพ์ฟรีด้วย อย่างที่โรงแรม Toyoko Inn ที่ผมชอบไปพัก (บอกให้ว่าหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นมีประโยชน์มากเวลาที่จะดูสิ่งนี้ของแต่ละช่วงเวลาในแต่ละวัน)

17

……………………………….

แม้ว่าเราจะสังเกตหรือไม่สังเกตก็ตาม ปีศักราชญี่ปุ่นก็สามารถพบเห็นได้ตามสิ่งต่างๆในญี่ปุ่นตามที่ผมได้บอกมา ไม่ว่าจะเที่ยวอยู่ในส่วนใดของญี่ปุ่นก็ตาม ซึ่งในอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ ปีศักราช “เรวะ” ก็ใกล้จะมาถึงแล้ว

ส่วนใครที่จะไปญี่ปุ่นในช่วงวันหยุดยาวพิเศษ 10 วันละก็ วางแผนโปรแกรมการเดินทางให้ดีละกัน มีแผนสำรองไว้ก็ยิ่งดี หากโปรแกรมที่เราวางแผนไว้ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ : )

4

10

______________________________________

 

 

 


ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s